วันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2561

คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

สมุนไพรที่กล่าวถึงในคัมภีร์สรรพคุณ

จากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ พระคัมภีร์สรรพคุณได้กล่าวถึงสรรพสมุนไพรมากมายดังต่อไปนี้

สมุนไพรสมอไทย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมอไทย

ลักษณะของสมอไทย
                สมอไทยเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีผลเป็นลูกป้อมๆรีๆ มีขนาดเล็กประมาณหัวแม่มือ ผิวเกลี้ยงไม่มีขน เมื่อแก่จะมีสีเขียวอมเหลืองสมอไทยมีรสชาติที่ค่อนข้างทรมานใจเด็กหลายคนหรือผู้ใหญ่บางคน เพราะมีรสฝาดขม นำ แต่เมื่อกินไปสักพักจะกลายเป็นหวานชุ่มคอ

สรรพคุณของสมอไทย
                เป็นยาระบาย ช่วยแก้โรคท้องผูกแต่ไม่ทำให้ถ่ายท้อง อีกทั้งยังช่วยชำระลำไส้ให้สะอาด โดยผู้ที่เป็นโรคท้องผูกควรกินลูกมอไทยประมาณวันละ ๓-๕ลูกทุกวันจนกว่าจะหานอกจากนี้สรรพคุณของสมอไทยยังมีหลากหลาย อาทิ บำรุงกำลัง แก้ไอ แก้กระหาย แก้เจ็บคอ ขับลมในกระเพราะ แก้ปวดท้อง ช่วยย่อยอาหารเป็นต้นและด้วยสรรคุณที่มากมีสวนทางกลับขนาดลูกเล็กๆของมัน ทำให้บางคนผู้นิยมสมุนไพรถึงกลับกล่าวว่า ถ้ากินสมอไทยวันละลูกเป็นประจำทุกวัน โรคภัยก็ยากที่จะเข้ามาก้ำกราย

สมุนไพรสมอพิเภก
        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมุนไพรสมอพิเภก       


ชื่ออื่น
                ลัน (เชียงราย) สมอแหน (กลาง) แหน แหนขาว แหนต้น (เหนือ) สะคู้ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ซิบะดู่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่)

ลักษณะของสมุนไพรสมอพิเภก

                ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง ๑๕-๓๕เมตร ลำต้นเปลา   ตรง โคนต้นมักเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอมน้ำตาลหรือเป็นสีดำๆด่างๆ เป็นแห่งๆ ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้นเปลือกในสีเหลือง เรือนยอดกลมแผ่กว้างและค่อนข้างทึบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนประปราย
ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ติดเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลายๆ กิ่ง ทรงใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง ๙-๑๕ซม. ยาว ๑๓-๑๙ซม. โคนใบสอบมาสู่ก้านใบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบผายกว้าง ปลายสุดจะหยัดคอดเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เส้นแขนงใบโค้งอ่อน มี ๖-๑๐คู่ เส้นใบแบบเส้นร่างแหเห็นชัดทางด้านท้องใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเขียวเข้มและมีขนสีน้ำตาลกระจายทั่วไป ท้องใบสีจางหรือสีเทามีขนนุ่มๆ คลุม แต่ทั้งสองด้านขนจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่จัด ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว ๔-๖ซม. บริเวณกึ่งกลางก้านจะมีต่อมหรือตุ่มหูด หนึ่งคู่ ดอก เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆแบบหางกระรอก ที่ง่ามใบหรือรอยแผลใบตามกิ่ง ปลายช่อจะห้อยย้อยลง ช่อยาว ๑๐-๑๕ซม. ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามปลายๆ ช่อ ส่วนดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่ตามโคนช่อ กลีบฐานดอก มี ๕ กลีบโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ทั้งหมดมีขนทั่วไป เกสรเพศผู้มี ๑๐อัน เรียงซ้อนกันอยู่สองแถว รังไข่ ค่อนข้างแป้น ภายในมีช่อง   เดียวและมีไข่อ่อน ๒หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว ผล กลมหรือกลมรีๆ แข็ง ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น ออกรวมกันเป็นพวงโตๆส่วนที่ใช้    ในการรักษาผลอ่อน ผลแก่ เมล็ดใน ใบ ดอก เปลือก แก่น ราก

สรรพคุณของสมุนไพรสมอพิเภก

                ผลอ่อน-มีรสเปรี้ยว แก้ไข้ แก้ลม เป็นยาระบาย ยาถ่ายผลแก่-มีรสฝาดแก้โรคในตา บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ริดสีดวงทวารหนักเป็นยาแก้ท้องร่วงท้องเดินเมล็ดใน-แก้บิด บิดมูกเลือดใบ-แก้บาดแผลดอก-แก้โรคในตาเปลือกต้น-ต้มขับปัสสาวะ แก่น-แก้ริดสีดวงพรวก ราก-แก้โลหิต อันทำให้ร้อน

สมุนไพรมะขามป้อม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมุนไพรมะขามป้อม 

ลักษณะของมะขามป้อม  

                มะขามป้อมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดสูงประมาณ ๗-๑๕เมตร ลำต้นมีเปลือกเรียบเกลี้ยง ลอกออกเป็นแผ่นๆใบ ใบเดี่ยวเรียงชิดติดกันคล้ายขนนก ปลายใบยาวรี สีเขียวแก่ ยาวประมาณ ๑ ซม.
ออกดอกเป็นช่อหรือเป็นกระจุกดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกกันอยู่บนต้นเดียวกันหนึ่งดอกมีกลีบดอกประมาณ ๕-๖กลีบ มีสีเหลืองอมเขียวผล รูปร่างกลม ผิวเกลี้ยง เนื้อหนา รสฝาด มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ซม. เปลือกแบ่งเป็นสันความยาว ๖ซม. ภายในเนื้อมีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ ๖เมล็ด
สรรพคุณของมะข้ามป้อม
                รากแห้งของมะขามป้อม ใช้ต้มดื่มแก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน ลดความดันโลหิตรากสดมะขามป้อม นำมาพอกแผลเมื่อโดนตะขาบกัด สามารถแก้พิษได้เปลือกลำต้นมะขามป้อม ใช้เปลือกแห้งบดเป็นผง โรยบาดแผลหรือนำมาต้มดื่มแก้โรคบิดและฟกซ้ำปมก้าน ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากแก้ปวดฟัน โดยนำปมก้าน ๑๐-๓๐ อัน มาต้มกับน้ำแล้วใช้อมหรือดื่มแก้ปวดท้องน้อย กระเพาะอาหาร แก้ปวดเมื่อยกระดูก แก้ไอแก้ตานซางในเด็ก ผลมะขามป้อมสด ใช้รับประทานเป็นผลไม้แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นยาบำรุงแก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย รักษาคอตีบ รักษาเลือกออกตามไรฟัน หรือจะนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งรับประทานเป็นยาถ่ายพยาธิผลมะขามป้อมแห้ง นำมาบดชงน้ำร้อนแบบชาดื่มแก้ท้องเสียโรคหนองในบำรุงธาตุ รักษาโรคบิด ใช้ล้างตา แก้ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ แก้ตกเลือด ใช้เป็นยาล้างตาหรือจะผสมกับน้ำสนิมเหล็กแก้โรคดีซ่าน โลหิตจางเมล็ด นำมาเผาไฟจนเป็นเถ้าผสมกับน้ำมันพืช ทาแก้คัน หืด หรือตำเป็นผงชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคเบาหวาน หอบหืด หลอดลมอักเสบ รักษาโรคตา แก้คลื่นไส้อาเจียน

สมุนไพรดีปลี 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะของดีปลี     
         
                ต้นดีปลี จัดเป็นไม้เถามีรากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะและเลื้อยพันเถาค่อนข้างเหนียวและแข็งมีข้อเป็นนูน แตกกิ่งก้านสาขามาก เจริญเติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น มีแสงแดดร่มรำไรใบดีปลี มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบกว้างประมาณ ๓-๕เซนติเมตร และยาวประมาณ๗-๑๐เซนติเมตร มีเส้นใบออกจากโคนประมาณ ๓-๕เส้น ส่วนก้านใบยาวประมาณ ๑-.๕เซนติเมตรดอกดีปลี หรือ ผลดีปลี ผลสดมีสีเขียวเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ลักษณะของผลอันกันแน่นเป็นช่อรูปทรงกระบอก โคนใหญ่กว่าปลายไม่มาก ปลายเล็กมน ผลมีความยาวประมาณ ๒.-.๕เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕-๘เซนติเมตร ผิวของผลค่อนข้างหยาบ และมีเกสรตัวเมียติดอยู่ ผลย่อยมีเมล็ดเดียว โดยเมล็ดมีขนาดเล็กมาก ลักษณะกลมและแข็ง ผงของผลมีสีน้ำตาล มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสเผ็ดร้อน ขมปร่า นิยมเก็บผลมาใช้เมื่อผลเริ่มเป็นสีน้ำตาล แล้วนำมาตากแดดให้แห้งส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร   ส่วนของดอก ใบ ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก หรือตากแดดให้แห้ง เถา 

สรรพคุณของดีปลี              

                เชื่อกันว่าดีปลีมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง และช่วยบำรุงกำหนัด(ไม่ระบุส่วนที่ใช้)ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้ดอกดีปลี ๑๐ ดอก หัวแห้วหมู ๑๐ หัว พริกไทย ๑๐ เม็ด นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งแท้ใช้รับประทานก่อนนอนทุกคืน (ดอก)ดอกดีปลี สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก,ผลแก่จัด,ราก)ผลแก่จัด มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุไฟ แก้ธาตุไฟหย่อนหรือพิการ ช่วยรักษาอาการกำเริบของธาตุน้ำและธาตุลม (ผลแก่จัด)ช่วยแก้ธาตุพิการ แก้ธาตุไม่ปกติ แก้ปฐวีธาตุพิการ แก้วิสติปัฏฐี แก้ปัถวีธาตุ ๒๐ ประการ (ผล,ดอก)ใช้เป็นยากระจายลม ระบายความเจ็บปวด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ดอก,เถา)ผงของผลมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสเผ็ด ขม ปร่า สรรพคุณช่วยขับน้ำลายและทำให้ลิ้นชา (ผล)ช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ (เถา)ช่วยแก้ลมวิงเวียน ด้วยการใช้ดอกแก่นำมาต้มน้ำดื่ม (ดอก,ผลแก่จัด,ราก)ใช้เป็นยาระงับแก้อาการนอนไม่หลับ (ผล)ช่วยระงับอชินโรค หรือโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย หรือมักเป็นๆ หายๆ (ผล)ช่วยแก้ตัวร้อน (ราก)ช่วยแก้ไข้เรื้อรัง หรืออาการไข้ที่มักเป็นๆ หายๆ ด้วยการใช้ดอกดีปลีล้างสะอาด นำมาบดหรือตำพอหยาบๆประมาณครึ่งแก้ว นำมาต้มกับน้ำ ๔ แก้ว จนเหลือ ๑ แก้ว แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่มกินขณะท้องว่างวันละ ๒ ครั้ง สูตรนี้ยังช่วยลดอาการม้ามโตได้อีกด้วย ช่วยแก้อาการหวัด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)ช่วยแก้อาการหืดไอ (ดอก,ผลแก่จัด)ช่วยแก้หืดหอบ (ดอก,ราก)ช่วยแก้อาการไอ หรือลดอาการไอ มีอาการระคายคอจากเสมหะ ด้วยการให้ผลแก่แห้ง ครึ่งผล นำมาฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือเล็กน้อย แล้วใช้กวาดคอ หรือใช้จิบบ่อยๆ (ดอก,ผลแก่จัด)ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ (ผลแก่จัด)

สมุนไพรช้าพลู
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมุนไพรช้าพลู


ลักษณะของช้าพลู

                ไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มเตี้ย เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อยไปตามพื้นดินปลายยอดตั้งขึ้น ลำต้นสีเขียวกลม มีข้อเป็นปม สูง ๓๐-๘๐เซนติเมตร มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้ ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะต้นและใบมีรสเผ็ดซ่าเล็กน้อย ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง ๕-๑๐เซนติเมตร ยาว ๗-๑๕เซนติเมตร สีเขียวเข้ม ผิวใบเป็นมันลื่น แผ่นใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ตัวใบรูปหัวใจ ตัวใบตามยอดรูปขอบขนาน โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ตอนล่างของลำต้น ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีขนตามเส้นใบ มีเส้นแขนงใบ ๗เส้น เห็นชัดเจน ใบช่วงล่างใหญ่กว่าใบยอดกิ่ง ก้านใบยาว ๑-๓เซนติเมตร ดอก เป็นช่อออกตามซอกใบและตามปลายยอด ดอกขนาดเล็กอัดเรียงกันเป็นช่อรูปทรงกระบอก ตั้งตรง ปลายมันคล้ายดอกดีปลีแต่สั้นกว่า ดอกย่อยแยกเพศ ช่อดอกตัวเมียยาว๖-๘มิลลิเมตร ช่อดอกตัวผู้ยาว ก้านช่อดอกยาว ๑-.๕เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กมากกลีบดอกสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลาง ๖มิลลิเมตร ผล เป็นผลสดสีเขียวเป็นกลุ่ม ลักษณะกลม ผิวมัน อัดกันแน่นอยู่บนแกน ชอบขึ้นตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ หรือที่ร่มรำไร ออกดอกและติดผลราวเดือนมีนาคมถึงกันยายน ใบรับประทานเป็นผัก มีเบตาแคโรทีนสูง หรือใช้ห่อรับประทานกับเมี่ยงคำ

สรรพคุณของช้าพลู

                ตำรายาไทยใช้ ทั้งต้น รสเผ็ดร้อน ขับเสมหะ แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารแก้ไอ แก้หวัด ใบ รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ทำให้เลือดลมซ่าน ขับเสมหะ แก้เบาหวาน ราก รสร้อน ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ ราก ผล และใบ ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการปวดกระเพาะเนื่องจากความเย็นพร่องในธาตุ แก้ธาตุน้ำพิการ แก้ไอเย็น ขับเสมหะ แก้บวมน้ำ แก้ไข้จับสั่น แก้ปวดฟัน ปวดกระดูกเนื่องจากลมชื้นติดเกาะ แก้ฟกช้ำ ใช้ภายนอก รักษาขาเน่าขาเปื่อย ผล รสเผ็ดร้อน แก้เสมหะที่คอ ทำให้เสมหะแห้ง ขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร

สมุนไพรสะค้าน (พริกไทยป่า)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พริกไทยป่า
ลักษณะของสะค้าน (พริกไทยป่า)       
          
                สะค้านเป็นไม้เถาขนาดกลาง มีข้อปล้อง เนื้อไม้เป็นเส้นยาว หน้าตัดตามขวางมีลาย เป็นเส้นรัศมี เปลือกค่อนข้างอ่อน เนื้อไม้สีขาว ใบเดี่ยวรูปใบหอกกว้างคล้ายใบพริกไทย แต่แคบกว่า ปลายใบแหลม ใบสีเขียวเข้ม

สรรพคุณของสะค้าน (พริกไทยป่า)     
                          
                เถาสะค้าน มีรส เผ็ดร้อน แก้ลมอันบังเกิดในกองธาตุ กองสมุฏฐาน ขับ ลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ทำให้ผายเรอ ใบมีรสเผ็ดร้อนแก้ลมในกองเสมหะและโลหิต ขับลม ในลำไส้ แก้ธาตุพิการ แน่น จุกเสียดและราก มีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้หืด แก้จุกเสียด บำรุงธาตุช่วยแก้อาการทั้งปวงในกองธาตุลมทั้ง ๖ เป็นต้นว่า ท้องเต็มไปด้วยลม หาวเรอ ผาย                ลม ถอนหายใจใหญ่ เบื่ออาหาร มือเท้าเย็น ปากแห้ง คอแห้ง คลื่นเหียนอาเจียนจนถึงขั้นหายใจขัดหรือหายใจเข้าน้อย หายใจออกมา


สมุนไพรเจตมูลเพลิงแดง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เจตมูลเพลิงแดง 
  
ลักษณะต้นของเจตมูลเพลิงแดง 
                    
                เจตมูลเพลิงแดง จัดเป็นไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความของต้นประมาณ ๑-.๕เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ ๒-๓เมตร ต้นแตกกิ่งก้านสาขารอบต้นมาก กิ่งก้านมักทอดยาว ยอดอ่อนเป็นสีแดง ส่วนลำต้นมีลักษณะกลมเรียบ กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวปนแดง และมีสีแดงบริเวณข้อขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร พื้นที่เนินสูง และไม่ชอบที่ชื้นแฉะ มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทยเกือบทุกภาค สามารถพบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไปใบเจตมูลเพลิงแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ ๓-๕เซนติเมตร และยาวประมาณ ๘-๑๓เซนติเมตร แผ่นใบบางเป็นสีเขียว แผ่นใบมักบิด ส่วนก้านใบและแกนกลางใบอ่อนเป็นสีแดงดอกเจตมูลเพลิงแดง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด ช่อดอกยาวประมาณ ๒๐-๙๐เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวประมาณ ๑-๓เซนติเมตร ในช่อดอกจะมีดอกย่อยจำนวนมากประมาณ ๑๐-๑๕ดอก โดยดอกจะออกเป็นช่อตั้งขึ้นที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด กลีบดอกบางเป็นสีแดงสด มี ๕กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็กๆ ยาวประมาณ ๒.-.๕เซนติเมตร ส่วนปลายแยกเป็น ๕แฉก ลักษณะกลีบเป็นรูปไข่กลับ ปลายกลีบกลมและมีติ่งหนามตอนปลาย ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร มีใบประดับและใบประดับย่อยลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก ยาวประมาณ ๐.-.๓เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน ๕อัน ติดตรงข้ามกลีบดอก มีอับเรณูยาวประมาณ ๒มิลลิเมตร รังไข่เป็นรูปรี ส่วนก้านเกสรเพศเมียมีหลายขนาดและมีขนยาวที่โคน ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียว ๕กลีบ ลักษณะเป็นรูปใบหอก เป็นหลอดเล็กยาวประมาณ ๐.-๑เซนติเมตร และมีขนเหนียวๆปกคลุม เมื่อจับดูจะรู้สึกว่าเหนียวมือลักษณะ
ผลเจตมูลเพลิงแดง ออกผลเป็นฝักกลม ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรียาว ผลเป็นผลแห้งเมื่อแก่จะแตกตามร่องได้

สรรพคุณของเจตมูลเพลิงแดง  
                       
รากมีรสร้อน มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ บำรุงไฟธาตุในร่างกาย (ราก)ช่วยแก้ธาตุพิการ (ราก)ช่วยรักษาอาการอันเกิดจากธาตุไฟทั้ง ๔ เช่น หายใจถี่มีอาการตัวเย็น นัยน์ตามัว เบื่ออาหาร ไอแห้ง ปวดท้องไม่หาย มือเท้าเป็นเหน็บชา ชอบนอนนานแล้วไม่อยากลุกขึ้น ฯลฯ (ราก)ใบนำมาป่นผสมกับพริกไทย ขมิ้นดำ ดีปลี และไพล แล้วปั้นเป็นลูกกลอนใช้เป็นยาบำรุงกำลัง และขับลม (ใบ)บ้างว่าใช้รากเข้ายาบำรุงกำลัง (ราก) รากใช้เป็นยาบำรุง (ไม่ได้ระบุว่าบำรุงอะไร)ทั้งต้นหรือรากมีรสเผ็ดร้อน เป็นยาร้อน ออกฤทธิ์ต่อปอดและหัวใจ ใช้เป็นยาขับเลือด ฟอกเลือด กระจายเลือดลม (ราก,ทั้งต้น) ช่วยบำรุงโลหิต (ราก) แก้โลหิตเน่าเสีย (ราก)

สมุนไพรพริกน้อย (ภาคเหนือ)

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมุนไพรพริกน้อย (ภาคเหนือ)

ลักษณะของพริกน้อย (ภาคเหนือ)      
           
เป็นไม้เลื้อยมีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ลำต้นมีข้อและป้องชัดเจน ใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่หรือรี ปลายใบแหลม โคนใบมนกลมหรือแหลมเล็กน้อยใบมีขนาดกว้าง ๓. - ๖ ซม. ยาว ๗ - ๑๐ ซม. เส้นใบที่บริเวณโคนใบมี ๓-๕ เส้น ดอกออกเป็นช่อและออกตรงข้ามกับใบ ช่อรูปก้านใบยาว ๑๐-๒๐มม. ติดอยู่ตามแกนช่อดอกรองรับดอก รังไข่กลมปลายเกสรแยก ๓ - ๖แฉก ช่อดอกตัวผู้มีดอกที่มีเกสรตัวผู้ ๒ อัน ผลรวมกันบนช่อยาว ๕ – ๑๕ ซม. ผลรูปทรงกลมขนาด ๔ - ๕ ซม. แก่แล้วมีเมล็ดสีดำ ภายในมี ๒เมล็ดใบ  -   แก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องอืดเฟ้อ
ผล - ผลที่ยังไม่สุกนำมาเป็นเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร
เมล็ด - ขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ  อาหารไม่ย่อย
ดอก -  แก้ตาแดง ถนอมอาหารหลายชนิด เช่น มะม่วงดอง

 สมุนไพรขิงแกลง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง 

ลักษณะของขิงแกลง             
            
ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวล มีกลิ่นเฉพาะ จะแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน แกมรูปใบหอก กว้าง ๑.-๒ ซม. ยาว ๑๕-๒๐ ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน  ดอก ออกเป็นช่อ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน ใบประดับเรียงเวียนสลับสีเขียวอ่อน ดอกสีเหลืองแกมเขียว ผล เป็นผลแห้ง ทรงกลม ขนาดประมาณ ๑ ซม. เป็น ๓ พู เมล็ดหลายเมล็ด

สรรพคุณของขิงแกลง  
    
เหง้าแก่สด
ยาแก้อาเจียน
ยาขมเจริญอาหาร
ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ
สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดได้ดี
มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี เพื่อย่อยอาหาร
แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก
ลดความดันโลหิต
ต้น - ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน
ใบ - แก้โรคกำเดา ขับผายลม แก้นิ่วแก้เบาขัด แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา  ขับลมในลำไส้
ดอก - ทำให้ชุ่มชื่น แก้โรคตาแฉะ ฆ่าพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้คอเปื่อย
บำรุงไฟธาตุ  แก้นิ่ว แก้เบาขัด แก้บิด
ผล แก้ไข้

สมุนไพรโกศสอ

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมุนไพรโกศสอ

ลักษณะของโกฐสอ       
            
        เครื่องยาชนิดนี้มีลักษณะกลมยาวคล้ายหัวผักกาด แต่มีขนาดเล็กกว่า และแข็งกว่ามาก  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว ๒ซม.  ยาวราว ๑๐-๒๕ซม.  มีขนาดต่างๆ  ผิวสีน้ำตาล  มีรอยย่นๆและมีสัน  ที่เปลือกมีประที่มีชันอยู่  เนื้อในมีสีขาวนวล  มีจุดเล็กๆซึ่งเป็นชันหรือน้ำมันระเหยง่ายทำให้มีกลิ่นหอม  มีรสเผ็ดร้อนและขมมัน

     สรรพคุณของโกฐสอ                  

                ใช้แก้ไข้ แก้หืด แก้ไอ ทำหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้เสมหะเป็นพิษ แก้สะอึก แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไข้จับสั่น  จีนนิยมใช้ยานี้มานานแล้ว  โดยมักใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด  แก้ปวดหัว  โพรงจมูกอักเสบ แก้ปวดฟัน  แก้ริดสีดวงทวารหนัก  แก้อาการทางผิวหนังต่างๆ  เช่น  แผลไฟไหม้  น้ำร้อนลวก  บวม  แก้ริดสีดวงจมูกโดยเตรียมเป็นยานัตถุ์จีนถือว่ายานี้เป็นยาเฉพาะสตรีจึงใช้ยานี้เป็นยาเกี่ยวกับระดู เช่น  ใช้แก้ตกขาว  อาการปวด บวมแดง นอกจากนั้นยังใช้ผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าหลายชนิด
         
สมุนไพรโกฐกระดูก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมุนไพรโกฐกระดูก 

ลักษณะของโกฐกระดูก                            
        รากสีเทาถึงสีน้ำตาล ลักษณะแข็ง รูปทรงกระสวย หรือรูปทรงกระบอกคล้ายกระดูก ขนาดความยาว ๕-๑๐เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.-๕เซนติเมตร ผิวนอกสีน้ำตาลอมเหลืองถึงสีน้ำตาลอมเทา มีรอยย่นชัดเจน มีร่องตามยาว ผิวนอกมีร่องไขว้ไปมาคล้ายร่างแห ด้านข้างมีรอยแผลเป็นรากแขนง เนื้อแข็ง หักยาก รอยหักสีน้ำตาลอมเทาถึงสีน้ำตาลเข้ม พบรากแขนงได้บ้างเล็กน้อย เมื่อผ่าตามแนวขวาง เนื้อรากจะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนนอกที่บางกว่า และส่วนในซึ่งเป็นเนื้อรากจะมีสีจางกว่า วงแคมเบียมสีน้ำตาล และมีลายเส้นตามแนวรัศมี เนื้อตรงกลางจะยุบตัวลง มีรูพรุน ตำราสรรพคุณของโกฐกระดูก
        ยาโบราณของไทยว่าโกฐกระดูกมีรสขม หวาน มัน ระคนกัน มีกลิ่นหอมเฉพาะ ตำรายาโบราณบางเล่มเรียกว่า “โกฐหอม” เพราะมีกลิ่นหอมชวนดม รากแก้เสมหะและลม แก้หืด หอบ แก้ลมในกองเสมหะ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้นบำรุงกระดูก แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย แก้ปวด ตำรายาไทยใช้ปรุงเป็นยาหอมรับประทานแก้ลมวิงเวียนหน้ามืดตาลายขับลมในลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง





สมุนไพรตูมกา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมุนไพรตูมกา 

ลักษณะของตูมกา    
                  
        เมล็ดกลมแบนคล้ายกระดุม มี ๔-๑๕เมล็ด ยาว ๑.-.๒เซนติเมตร หนา ๕-๑๕มิลลิเมตร ผิวมีขนสีอมเหลือง เมล็ดมีรสเมาเบื่อ ขมจัด เมล็ดมีพิษ ทำให้ตายได้

สรรพคุณของตูมกา       
             
                ทุกส่วนของต้นมีพิษ เป็นยาอันตรายมาก ทำให้ถึงตายได้ การนำมาทำเป็นยาต้องฆ่าฤทธิ์ ตามกรรมวิธีในหลักเภสัชกรรมไทยเสียก่อน เมล็ดแก่แห้งเรียกว่า “โกฐกะกลิ้ง” ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ ขับน้ำย่อย เมล็ด มีพิษมากต้องระมัดระวังในการใช้ ทางยา เมล็ดมีรสเมาเบื่อขมจัด บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจให้เต้นแรง แก้อัมพาต แก้อิดโรย แก้ไข้เจริญอาหาร ขับน้ำย่อย กระตุ้นประสาทส่วนกลาง บำรุงประสาท หูตาจมูก บำรุงเพศของบุรุษ บำรุง        กล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร ลำไส้ ให้แข็งแรง แก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นไส้ แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้ลมคูถทวาร ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน แก้ไตพิการ แก้เส้นตาย แก้เหน็บชา แก้เนื้อชา แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย

 สมุนไพรเทียนดำ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทียนดำ 


ลักษณะของเทียนดำ

                ต้นเทียนดำมีลักษณะเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุราว ๑ ปี ลำต้นกลมและตั้งตรงมีความสูงของต้นประมาณ ๓๐-๖๐ เซนติเมตร แตกกิ่งก้านบริเวณกลางลำต้นมีขนสี ใบเทียนดำมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ขอบใบหยักลึก ใบบนใหญ่กว่าใบล่าง มีก้านใบสั้น ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปสามแฉก ลักษณะเป็นเส้นปลายแหลมมีขนขึ้นปกคลุมช่วงล่าง ใบย่อยกว้างประมาณ ๒-๓ เซนติเมตร และยาวประมาณ ๔-๕ เซนติเมตร ดอกเทียนดำ เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกบริเวณปลายยอดหรือตามซอกใบ ดอกมีกลีบเลี้ยง ๕ กลับมีขนาดใหญ่กว่าและยาวกว่ากลีบดอกมาก ดอกอาจเป็นสีขาวหรือสีฟ้าอ่อนอมสีม่วง กลีบดอกมีหลายกลีบ ขนาดเล็ก เป็นสีเหลืองอมเขียวที่ปลายกลีบมีเส้นคาดเป็นสีม่วงดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก ยาวประมาณ ๘-๑๒ มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงยาวประมาณ ๒-๓ มิลลิเมตร ผลเทียนดำแก่จะแตกออก ผลมีลักษณะคล้ายกับผลฝิ่น ผลมีความยาวประมาณ ๘-๑๕มิลลิเมตร ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมถึงห้าเหลี่ยม มีขนาดกว้างประมาณ ๑.-.๘ มิลลิเมตร และยาวประมาณ ๒.-.๐ มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีดำสนิทผิวหยาบหรือขรุขระ ไม่มีขน มีกลิ่นเล็กน้อย ส่วนเนื้อในเมล็ดเป็นสีขาว เมล็ดค่อนข้างแข็ง หากใช้มือถูที่เมล็ดหรือนำไปบดจะได้กลิ่นหอมฉุน มีรสชาติขม เผ็ด ร้อน เครื่องเทศ

สรรพคุณของเทียนดำ

๑.      ดร.อิบรอฮีม อับดุลฟัตตาฮ์ ระบุว่า หากต้องการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ให้นำเมล็ดเทียนดำมาบดให้ละเอียด ๑ ช้อนโต๊ะกระเทียม ๓ กลีบน้ำผึ้ง ๒ ช้อนโต๊ะและ น้ำอุ่นครึ่งแก้ว โดยนำส่วนผสมทั้งหมดมาบดรวมกันแล้วใช้รับประทานวันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น (เมล็ด)
๒.    การแพทย์สมัยก่อนนั้นจะใช้เมล็ดเทียนดำเป็นส่วนประกอบในการบำบัดรักษาโรคทุกชนิด (เมล็ด)
๓.     ในแถบประเทศอังกฤษและสก๊อตแลนด์ ใช้เมล็ดเป็นยาแก้อาการซูบผอม (เมล็ด)
๔.     เมล็ดมีสรรพคุณบำรุงโลหิต (เมล็ด)
๕.     ช่วยในเรื่องระบบการหมุนเวียนของเลือด ด้วยการใช้เทียนดำผสมกับน้ำผึ้งรับประทานได้ตลอดเวลาตามที่ต้องการ (เมล็ด)
๖.      เมล็ดและทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาฟอกเลือด (เมล็ด,ทั้งต้น)
๗.     หากความดันโลหิตสูง ให้ใช้เทียนดำ ๑ ช้อนโต๊ะน้ำผึ้ง ๒ ช้อนโต๊ะและกระเทียม ๓ กลีบ นำมาผสมกันใช้รับประทานทุกวัน (เมล็ด)
๘.     ช่วยรักษาโรคไขมันในเลือด หรือคอเลสเตอรอล ให้ใช้เทียนดำ ๑ ช้อนโต๊ะน้ำผึ้ง ๑ แก้วเล็กกระเทียม ๓ กลีบและผักชนิดใดก็ได้ ๑ กำมือ นำมาบดรวมกันใช้รับประทานเช้าและเย็น (เมล็ด)
๙.      ใช้รักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เมล็ดนำมาบดเป็นผงให้ละเอียด ๑ ช้อนโต๊ะทับทิมบดเป็นน้ำ ๑ แก้วรากกะหล่ำปลีบดเป็นน้ำ ๑ แก้วและผักแว่นบดเป็นน้ำ ๑/๒ แก้ว แล้วนำมาผสมกับนมเปรี้ยวใช้รับประทาน (เมล็ด)
๑๐.  ดร.อะฮ์หมัด อัลกอฎี ระบุว่า เข้าได้ใช้เมล็ดเทียนดำผสมกับน้ำผึ้งรับมาเป็นยาบำบัดรักษาโรคเอดส์อย่างได้ผล (เมล็ด)
๑๑. หากเป็นโรคมะเร็ง ให้ใช้เทียนดำ ๑ ช้อนโต๊ะกระเทียม ๓ กลีบน้ำแครอท ๑ แก้วเล็กและน้ำผึ้ง ๒ ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกัน ใช้รับประทานวันละ ๓ ครั้ง ติดต่อกัน ๓ เดือน (เมล็ด)
๑๒.                        รากมีสรรพคุณช่วยรักษามะเร็งคุด มะเร็งเพลิง (ราก)
๑๓.ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้เทียนดำ ๑ ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกับนมสดและน้ำผึ้ง ๑ แก้ว ใช้ดื่มก่อนเข้านอน (เมล็ด)
๑๔.ช่วยทำให้สติปัญญาดีและมีความจำที่ดีขึ้น ด้วยการใช้น้ำมันเทียนดำ ๗ หยดน้ำผึ้งและใบสะระแหน่ ๑ กำมือ นำมาผสมกับน้ำอุ่นรับประทานร่วมกับชาหรือกาแฟ หรือนมสด จะช่วยเพิ่มความจำ ทำให้สมองโล่งขึ้น (เมล็ด)
๑๕.ช่วยรักษาโรคปวดศีรษะ ด้วยการใช้เมล็ดเทียนดำบดละเอียด และกานพลูบดละเอียด อย่างละท่ากัน แล้วนำมาผสมกับนมเปรี้ยวใช้รับประทานเมื่อมีอาการปวดศีรษะ ซึ่งสามารถใช้แทนนาพาราเซตามอลได้ หรือจะใช้เทียนดำผสมกับน้ำผึ้งรับประทานก็ได้ (เมล็ด)

สมุนไพรเทียนแดง

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมุนไพรเทียนแดง

ลักษณะของเทียนแดง

                ต้นเทียนแดงจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้ประมาณ ๑-๒ ปี ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงและมีความสูงประมาณ ๑๐-๔๐ เซนติเมตร แตกกิ่งก้านบริเวณยอดต้น  รากเป็นสีขาว มีรากฝอยไม่มากแทงลงใต้ดิน มีขนอ่อนขึ้นปกคลุมทั้งต้นใบเทียนแดงใบที่อยู่ใกล้โคนต้นจะมีก้านใบยาวประมาณ ๑-๒ เซนติเมตร ส่วนใบด้านบนไม่มีก้านใบ ใบเทียนแดงเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแคบ ขอบใบหยักลึก แตกเป็นแฉกคล้ายขนนก มีประมาณ ๒-๓ แฉก หน้าใบมีขน แต่หลังใบมีขน ใบมีขนาดกว้างประมาณ ๑-.๕ เซนติเมตร และยาวประมาณ๓-๕ เซนติเมตร ใบยอดกิ่งมักมีขนาดเล็กเป็นเส้น
ดอกเทียนแดงดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง รวมเป็นกระจุก ดอกมีสีขาวอมม่วง ขนาดเล็ก มีกลีบเลี้ยง ๔ กลีบ กลีบดอก ๔ กลีบ รอบกลีบมีเกสรเพศผู้สีเหลือง ๖ อัน ผลเทียนแดงมีลักษณะกลมยาวเป็นรูปไข่แบนมีเหลี่ยม ออกบริเวณง่ามใบ มีขนอ่อนขึ้นปกคลุม ภายในมีเมล็ดกลมรูปไข่กลมรี มีขนาดกว้างประมาณ ๑ มิลลิเมตรและยาวประมาณ ๒-๓ มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีแดงเข้ม ผิวเมล็ดเรียบเป็นมันตรงกลางมีริ้ว 

สรรพคุณของเทียนแดง

๑. เมล็ดมีรสเผ็ดขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด หัวใจ ม้าม และกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาขับความชื้นในร่างกาย ขับความชื้นในปอด น้ำท่วมปอด (เมล็ด)
๒. เมล็ดใช้เป็นยาลดไขในเลือด ลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน (เมล็ด)
๓. ช่วยฟอกโลหิต (เมล็ด)
๔.เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ด้วยการใช้เมล็ดเทียนแดง ๓๐๐ กรัม นำมาบดให้เป็นผง ใส่น้ำลงไปต้มเคี่ยวจนน้ำแห้ง แล้วจึงนำไปแช่กับเหล้ารับประทาน จากการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีนี้พบว่าได้ผลดีมาก (เมล็ด)
๕. สำหรับผู้ที่หัวใจไม่มีกำลังเนื่องมาจากอาการไอเรื้อรัง ให้ใช้เทียนแดง ๖ กรัม นำมาบดให้เป็นผง แบ่งชงกับน้ำรับประทานวันละ ๓ ครั้ง ผลจากการรักษาผู้ป่วยจำนวน ๑๐ รายด้วยวิธีนี้ พบว่าหลังจากผู้ป่วยรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลา ๔ วัน อาการบวมน้ำจะลดลง ถ้ารับประทานติดต่อกันเป็นเวลา ๒-๓ สัปดาห์ หัวใจของผู้ป่วยจะมีกำลังดีขึ้น และไม่พบอาการเป็นพิษ (เมล็ด)
๖. ใช้เป็นยาช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะ (เมล็ด)
๗.ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (เมล็ด)
๘.น้ำมันจากเมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลักปิดลักเปิด (น้ำมันจากเมล็ด)
๙. เมล็ดใช้เป็นยารักษาโรคหอบหืด แก้อาการแน่นหน้าอก (เมล็ด)
๑๐. ใช้เป็นยาแก้ลม ขับลม แก้ลมเสียดแทงสองราวข้าว (เมล็ด)
๑๑. เมล็ดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย (เมล็ด)
๑๒.ช่วยแก้น้ำดีพิการ (เมล็ด)
๑๓.ใช้เป็นยาแก้อาการบวมน้ำ ด้วยการใช้เมล็ด ๓๐๐ กรัม นำมาบดให้เป็นผง ใส่น้ำลงไปต้มเคี่ยวจนน้ำแห้ง แล้วจึงนำไปแช่กับเหล้ารับประทาน จากการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีนี้พบว่าได้ผลดีมาก (เมล็ด)
๑๔.เมล็ดมีสรรพคุณช่วยขับน้ำนมของสตรีให้นมบุตร (เมล็ด)
๑๕.ในแถบอินเดียและโมรอคโคจะใช้เมล็ดเป็นยารักษาโรคผิวหนัง (เมล็ด)


สมุนไพรเทียนขาว


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมุนไพรเทียนขาว 


ลักษณะของเทียนขาว
                ต้นเทียนขาวจัดเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุปีเดียว มีกลิ่นหอม ลักษณะของลำต้นตรง มีความสูงประมาณ ๒๐-๓๐ เซนติเมตรใบเทียนขาวเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ใบที่โคนต้นเป็นรูปไข่เมื่อดูแนวรูปใบ โดยรวมยาวประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร ขอบใบหยักลึกถึงเส้นกลาง มีลักษณะเป็นแฉก ๒-๓ แฉก แต่ละแฉกจะคล้ายเส้นด้าย มีความยาวประมาณ ๑-๒ เซนติเมตร โดนก้านใบแผ่เป็นกาบดอกเทียนขาวออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่มหลายชั้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก มีกลีบเลี้ยงเล็กมากถึงไม่มี มีกลีบดอก ๕ กลีบ สีขาวหรือสรชมพู มีเกสรตัวผู้ ๕ อันติดอยู่กับฐาน  ดอก เรียงสลับกับกลีบดอก ส่วนเกสรตัวเมียจะสั้น รังไข่อยู่ใต้วงกลีบมีอยู่ ๒ห้อง แต่ละห้องจะมี ๑ เมล็ด ผลเทียนขาวลักษณะเป็นผลแห้ง รูปยาวรีสีน้ำตาล มีขนาดกว้างประมาณ ๑.-๒ มิลลิเมตร และยาวประมาณ ๔.-.๗ มิลลิเมตร เปลือกมีขนสั้นแข็งปกคลุม เมื่อผลแก่จะแตกเป็น ๒ ซึก โดยแต่ละซีกจะมีเมล็ด ๑ เมล็ด ซึ่งผลจะมีลักษณะด้านนอกนูน ส่วนด้านในที่ประกบกันหรือด้านแนวเชื่อมจะมีลักษณะเว้า ด้านที่นูนจะมีสันตามแนวของผล ลักษณะคล้ายกับเส้นด้านจำนวน ๓ เส้น ด้านแนวเชื่อม ๒ เส้น สันนูน มีขนแข็งสั้นๆ หักง่ายปกคลุมอยู่ที่สัน ระหว่างสันจะมีลักษณะเป็นเนินเล็กๆ มีขนแข็ง เมล็ดจะมีกลิ่นหอมน้ำมันจากเมล็ดจะมีรสชาติเผ็ดร้อนและมีรสขม

สรรพคุณของเทียนขาว

๑.      ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด)
๒.    ช่วยขับเสมหะ (เมล็ด)
๓.     เมล็ดใช้ปรุงเป็นยาหอมช่วยขับลมในลำไส้ หรือใช้ขับผายลมในเด็ก (เมล็ด)
๔.     เมล็ดใช้ผสมกับยาระบายช่วยแก้อาการปวดมวน ไซร้ท้องได้ (เมล็ด)
๕.     ใช้เป็นยาฝาดสมานแก้อาการท้องเสีย (เมล็ด)
๖.      ช่วยแก้ดีพิการ (เมล็ด)
๗.     ช่วยแก้นิ่ว (เมล็ด)
๘.     ช่วยขับระดูขาวของสตรี (เมล็ด)
๙.      เทียนขาวมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านมะเร็งในหนูทดลอง ต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปากมดลูก
๑๐.  เทียนขาวมีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี
๑๑. เทียนขาวมีฤทธิ์ในการช่วยปกป้องตับจากการถูกทำลายของแอลกอฮอล์และน้ำมันที่ถูกความร้อนสูง
๑๒.  น้ำมันหอมระเหยจากเทียนขาวมีฤทธิ์ช่วยต้านอาการชักได้
๑๓.ผลเทียนขาวมีปรากฏอยู่ในตำรับยา “ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ซึ่งตำรับยานี้มีสรรพคุณในการช่วยแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย อาการใจสั่น คลื่นเหียนอาเจียน และแก้ลมจุกแน่นในท้อง
๑๔.ผลเทียนขาวมีปรากฏอยู่ในตำรับยา “ยาธาตุบรรจบ” ซึ่งประกอบไปด้วยเทียนขาว เทียนดำ เทียนแดง เทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ และสมุนไพรชนิดอื่นๆ ซึ่งตำรับยานี้มีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
๑๕.ผลเทียนขาวมีปรากฏอยู่ในตำรับยา “ยาประสะกานพลู” ซึ่งประกอบไปด้วยเทียนขาว เทียนดำ และสมุนไพรชนิดอื่นๆ ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้อาหารอาหารไม่ย่อย เนื่องมาจากธาตุไม่ปกติ

สมุนไพรกระวาน
    
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมุนไพรกระวาน 

ลักษณะของกระวาน

เป็นพืชล้มลุก มีเหง้า สูงประมาณ ๒ เมตร กาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น ใบเดี่ยว แคบยาว รูปขอบขนาน ยาว ๑๕-๒๕ ซม. ปลาย แหลม ช่อดอกออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน รูปทรงกระบอก ยาว ๖-๑๕ ซม. ก้านช่อดอกยาว ๕-๑๕ ซม. ใบประดับสีเหลืองนวล มีขนคาย เรียงซ้อนสลับกันตลอดช่อ กลีบดอกสีเหลือง เป็นหลอดแคบ ช่อดอกกระวานจะโผล่ขึ้นมาจากพื้นดินเล็กน้อย และเจริญเติบโตเป็นผลลักษณะเป็นพวง เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์แปรสภาพเป็นกลีบขนาดใหญ่ สีขาว มีแถบสีเหลืองตรงกลาง ผลกลมเปลือกเกลี้ยงเป็นพู ผลมีสีขาวนวล ในผลมีเมล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาลแก่จำนวนมากเมล็ดอ่อนสีขาวมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอมคล้ายการบูร

สรรพคุณของกระวาน

๑.      ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ผลแก่,ใบ,เปลือก,เมล็ด)
๒.    ช่วยแก้ธาตุพิการ (เมล็ด)แก้ธาตุไม่ปกติ (ผลแก่
๓.     ช่วยบำรุงกำลัง (ผลแก่,ใบ)
๔.     ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ผลแก่) แก้อาการเบื่ออาหาร (ผลแก่)
๕.     ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย (กระพี้)
๖.      ช่วยขับโลหิต (ผลแก่) ช่วยฟอกโลหิต แก้โลหิตเน่าเสีย (ราก)ช่วยรักษาโรคโลหิตเป็นพิษ (แก่น)
๗.     ช่วยแก้เสมหะให้ปิดธาตุ (ราก) แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ (ผลแก่,ใบ)
๘.     ช่วยขับเสมหะ (ใบ,เปลือก,เมล็ด)
๙.      แก้อาการสะอึก (ผลแก่)
๑๐.  ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (ผลแก่)
๑๑. ช่วยแก้ลม (ผล,ใบ,ราก)
๑๒. กระวาน สรรพคุณช่วยแก้ลมในอกให้ปิดธาตุ (ผลแก่)
๑๓.ช่วยแก้ลมสันนิบาต สันนิบาตลูกนก (ผลแก่,ใบ)
๑๔.ช่วยแก้พิษร้าย (แก่น)
๑๕.ช่วยแก้อาการผอมเหลือง (เปลือก)

สมุนไพรจันทน์ขาว

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง 


ลักษณะของจันทน์ขาว
                      
                ต้นจันทน์ขาว จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นได้ถึง ๒-๕ เมตร(บ้างว่าสูงได้ประมาณ ๕-๑๐ เมตร) กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มแน่น ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง เปลือกต้นบาง ผิวเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมีขนสั้นเนื้อไม้และแก่นมีสีออกน้ำตาลอ่อนๆ หรืออกขาวนวล มีรสขม หวาน หรือรสขมเย็นระคนกัน โดยต้นจันทน์ขาวมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียและพม่า มักขึ้นตามป่าดิบแล้ง และป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงของจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑๐๐-๔๐๐ เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง ชอบดินร่วนซุย และทนแล้งได้ดีดอก เป็นช่อ สีขาว ออกตามปลายยอดแต่ละช่อมีดอกย่อยมาก กลีบดอก ๔ กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดคล้ายกรวยถ้วย ปลายแยกเป็น ๕ กลีบ เกสรตัวเมียยาวยื่นออกมา กลิ่นหอมแรงออกดอกตลอดปีผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ ออกเป็นพวงติดกัน สีเขียวเข้ม เมื่อแก่สุกจะมีสีดำ 

สรรพคุณของจันทน์ขาว

                .แก่นมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเลือดลม หรือจะใช้แก่นจันทน์ขาวผสมกับสมุนไพรอื่นในตำรับยา ซึ่งประกอบไปด้วย แก่นจันทน์ขาว แก่นจันทน์แดง กระดูกหมาดำ งาช้าง รากชะอม รากชุมเห็ดเทศ รากผักหวานบ้าน รากมะกอกเผือก รากมะกอกฟานซ้อม รากมะลืมดำ รากมะลืมแดง รากหญ้าขัด และหัวถั่วพู โดยนำมาฝนกับน้ำข้าวเจ้า ใช้กินเป็นยารักษาโรคเลือดลม แต่ถ้าเป็นมากจนตัวแดง หรือแดงเป็นลูกตำลึงสุก ก็ให้นำมาทาด้วย 
                .ช่วยบำรุงเลือดลม 
                .ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย
                .แก่นหรือเนื้อไม้มีรสหวาน มีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาท ช่วยทำให้เกิดปัญญาและราศี แม้มลทิน (แก่น)
                .ช่วยบำรุงดวงจิตมิให้ขุ่นมัว
                .ช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกาย บำรุงธาตุไฟให้สมบูรณ์
                .ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
                .ช่วยบำรุงตับ และปอด
                .ช่วยแก้ปอด ตับ และดีพิการ
                ๑๐.ช่วยแก้ลม
                ๑๑.แก่นใช้เป็นยาแก้ไข้แก้ไข้ร้อน แก้ไข้ที่เกิดจากตับและดี แก้ไข้กำเดา
                ๑๒.ช่วยแก้อาการเหงื่อตกหนัก
                ๑๓.ชวยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ
                ๑๔.ช่วยขับพยาธิ
                ๑๕.ช่วยบำรุงผิวหนัง บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น

สมุนไพรจันทน์แดง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จันทน์แดง 

ลักษณะของจันทน์แดง

                ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น สูง ๑.-๔ เมตร ต้นโตเต็มที่อาจสูงถึง ๑๗ เมตร ลำต้นตรงไม่แตกกิ่ง มีเรือนยอดได้ถึง ๑๐๐ ยอด  เปลือกเกลี้ยงสีเทานวล อาจแตกสาขาออกจากลำต้นใหญ่ได้ มีรอยแผลของใบกลมๆติดๆกัน ตลอดลำต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับถี่ที่ปลายยอด รูปใบแคบเรียวยาว ปลายแหลม กว้าง ๔-๕ เซนติเมตร ยาว ๔๕-๘๐ เซนติเมตร ฐานใบจะโอบคลุมลำต้น ไม่มีก้านใบ เนื้อใบหนา ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อห้อยเป็นพวงขนาดใหญ่ตามซอกใบและปลายยอด โค้งห้อยลง ช่อยาวประมาณ ๔๕-๑๐๐ เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมากมายหลายพันดอก ดอกขนาดเล็กสีขาวครีม หรือเขียวอมเหลือง กลางดอกมีจุดสีแดงสด กลีบดอก ๖ กลีบ ขนาดดอก ๐.-๑เซนติเมตร เกสรตัวผู้ ๖ อัน ก้านเกสรกว้างเท่ากับอับเรณู  ก้านเกสรตัวเมียปลายแยก ๓ พู ชั้นกลีบเลี้ยง เป็นหลอด ปลายกลีบแยกเป็นพูแคบๆ ๖ พู ไม่ซ้อนกัน ผลเป็นช่อพวงโต ผลมีขนาดประมาณ ๑เซนติเมตร รูปทรงกลม สีน้ำตาลอมเขียว ผิวผลเรียบ มักจะมี ๑เมล็ด เมื่อสุกมีสีแดงคล้ำ ออกดอกราวเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม พบตามป่าภูเขาหินปูนสูงๆและมีแดดจัดๆ ต้นที่อายุมากแก่นจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีแดง เรียกแก่นสีแดงว่า จันทน์แดง เมื่อแก่นเป็นสีแดงเต็มต้น ต้นจะค่อยๆโทรมและตาย

สรรพคุณของจันทน์แดง

                ตำรายาไทยใช้ แก่นที่มีเชื้อราลง จนทำให้แก่นมีสีแดงและมีกลิ่นหอม  มีรสขมเย็น ฝาดเล็กน้อย แก้พิษไข้ภายนอกและภายใน แก้ไข้ทุกชนิเด แก้เหงื่อตก กระสับกระส่าย แก้ไออันเกิดจากซางและดี แก้ไข้เพื่อดีพิการ บำรุงหัวใจแก้พิษฝีที่มีอาการอักเสบและปวดบวม แก้บาดแผล แก้เลือดออกตามไรฟันฝนทาแก้ฟกบวม


สมุนไพรเปราะหอมแดง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะของเปราะหอมแดง

พืชล้มลุก อายุปีเดียว มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า เนื้อภายในสีเหลืองอ่อน มีสีเหลืองเข้มตามขอบนอก มีกลิ่มหอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยว แทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน - ใบ แผ่ราบไปตามพื้นดิน หรือวางตัวอยู่ในแนวราบหดินเล็กน้อย ใบมีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ บางครั้งอาจพบขอบใบมีสีแดงคล้ำ เนื้อใบค่อนข้างหนา ตัวใบมีขนาดกว้าง -๑๐ ซม. ยาว -๑๕ ซม. ก้านใบเป็นกาบยาว - ซม.ดอกออกรวมกันเป็นช่อ ยาว - ซม.มี -๑๒ ดอก ออกตรงกลางระหว่างใบ ดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูแต้มสีม่วง แต่ละดอกมี กลีบประดับ  กลีบรองรับอยู่ ซึ่งใบและต้นจะเริ่มแห้งเมื่อมีดอก ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ พบมากทางเหนือ ใบอ่อนม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบบนหน้าดิน ต้นหนึ่งๆ มักมี  –  ใบ ใบมีรูปร่างทรงกลมโตยาว ประมาณ  – ๑๐ ซม. หน้าใบเขียว เปราะหอมแดงจะมีท้องใบสีแดง เปราะหอมขาวจะมีท้องใบสีขาว มีกลิ่นหอม หัวกลมเหมือนหัวกระชาย ใบงอกงามในหน้าฝน และจะแห้งไปในหน้าแล้ง

สรรพคุณของเปราะหอมแดง

ใบ  -  แก้เกลื้อนช้าง
ดอก - แก้โรคตา
ต้น - แก้ท้องขึ้นเฟ้อ ขับลม
หัว - ขับเลือด และหนองให้ตก
    - แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้ไอ แก้บาดแผล
หัวและใบ - ใช้ในการปรุงเป็นอาหารได้ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลม



1 ความคิดเห็น:

คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

สมุนไพรที่กล่าวถึงในคัมภีร์สรรพคุณ จากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ พระคัมภีร์สรรพคุณได้กล่าวถึงสรรพสมุนไพรมากมายดังต่อไปนี้ สมุนไพรสมอไ...